วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติและขอมูลทั่วไปของประเทศไทย




ประวัติและความเป็นมาของประเทศไทย


ดินแดนที่เป็นประเทศไทยส่วนใหญ่นับแต่บริเวณภาคใต้ไปจนภาคเหนือ อันเป็นเขต ป่าเขานั้น อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า กึ่งชุ่มชื้น และกึ่งแห้งแล้ง จึงเป็นบริเวณที่เหมาะสมแก่การตั้งหลักแหล่งของชุมชนมนุษย์ให้เป็นบ้านเมืองได้เกือบทั้งสิ้น
รัฐหรือแคว้นในดินแดนประเทศไทยในระยะแรกเริ่มส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 7-8 เรื่อยมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 15การย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานจึงเลือกเฟ้นและจำกัดอยู่ในบริเวณภูมิภาคดังกล่าว ที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านเกษตรกรรมและการเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้ากว่าบริเวณอื่น ๆ ภาคอื่นซึ่งได้แก่ภาคเหนือและบริเวณอื่นที่ใกล้เคียงก็มีผู้คนอยู่เพียงแต่มีแต่เป็นชุมชนเล็ก ๆ กระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ เท่านั้น
กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถลงมา นับได้ว่ามีฐานะเป็นราชอาณาจักรสยามอย่างแท้จริงสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นอาณาจักรสยามอย่างแท้จริง คือมีหลักฐานทั้งด้านพระราชพงศาวดารและกฎหมายเก่าตลอดจนจารึกและลายลักษณ์อื่น ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่ามีการปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินที่รวมศูนย์แห่งอำนาจมาอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ ณ ราชธานีเพียงแห่งเดียว
นั่นก็คือ การยกเลิกการแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์ เช่น พระราชโอรส พระราชนัดดา ไปปกครองเมืองสำคัญที่เรียกว่า เมืองลูกหลวง หรือหลานหลวง ตั้งแต่ก่อนออกกฎข้อบังคับให้บรรดาเจ้านายอยู่ภายในนครโดยมีการแต่งตั้งให้มีตำแหน่ง ชั้นยศ ศักดิ์ และสิทธิพิเศษของแต่ละบุคคล ส่วนในเรื่องการปกครองหัวเมืองนั้น โปรดให้มีการแต่งตั้งขุนนางจากส่วนกลางไปปกครองเจ้าเมือง ขุนนาง และคณะกรรมการเมืองแต่ละเมืองมีตำแหน่ง ยศ ชั้น ราชทินนาม และศักดินา ลำดับในลักษณะที่สอดคล้องกับขนาดและฐานความสำคัญของแต่ละเมือง ส่วนเมืองรองลงมาได้แก่ เมืองชั้นโท และชั้นตรี ที่มีเจ้าเมืองมียศเป็นพระยาหรือออกญาลงมา บรรดาเจ้าเมืองเหล่านี้ไม่มีอำนาจและสิทธิในการปกครองและการบริหารเต็มที่อย่างแต่ก่อน จะต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมของเจ้าสังกัดใหญ่ในพระนครหลวง ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือน
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา ผู้ที่เรียกว่าชาวสยามหรือเมืองที่เรียกว่าสยามนั้น หมายถึงชาวกรุงศรีอยุธยาและราชอาณาจักรอยุธยาในลักษณะที่ให้เห็นว่าแตกต่างไปจากชาวเชียงใหม่ ชาวล้านนา ชาวรามัญ ชาวกัมพูชา ของบ้านเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น