วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

สัตว์ประจำชาติไทย

ลักษณะทั่วไปของช้าง
ช้างเป็นสัตว์บกขนาดใหญ่ ตัวที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้คือ 12 ตัน (12,000 กิโลกรัม) ความสูงจนถึงไหล่อยู่ในช่วง 3-4 เมตร มีความแข็งแรงมาก อายุยืนถึง 80 ปี (ใกล้เคียงกับมนุษย์) หนังหนา มีงวงสำหรับหายใจ ดื่มน้ำ และจับยึดสิ่งของ มีใบหูขนาดใหญ่ ตัวผู้จะมีงา 1 คู่ ช้างเพศเมียเมื่อได้รับการผสมพันธุ์จะตั้งท้องนาน 22 เดือน ลูกช้างแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 100-150 กิโลกรัม โดยที่ขนาดและน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแม้จะกินนมแม่เพียงอย่างเดียว นิยมอยู่กันเป็นครอบครัวหรือเป็นโขลง (ฝูงของช้างเรานิยมเรียกว่าโขลง) และค่อนข้างมีความสามัคคีกัน ช่วยกันดูแลช้างเล็กในโขลง ทำให้ช้างไม่มีศัตรูในธรรมชาติ (ใครจะกล้า!!) แต่ศัตรูที่แท้จริงของช้างและเป็นสาเหตุให้ประชากรช้างลดลงอย่างรวดเร็วก็คือมนุษย์นั่นเอง
เนื่องด้วยความที่เป็นสัตว์ใหญ่ที่แข็งแรงมาก ทำให้มีการนำช้างไปใช้งานที่ต้องการใช้แรงมาก เช่น ชักลากไม้ซุง ชักลากสิ่งของขนาดใหญ่ คนบางกลุ่มใช้สารเสพติดเพื่อให้ช้างมีแรงทำงานมากขึ้น แต่ร่างกายจะทรุดโทรมเร็วและตายลงในที่สุ

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอกไม้ประจำชาติประเทศไทย

จากอดีตที่ผ่านมากว่า 50 ปี ทางราชการมีความพยายามหลายครั้งในการกำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยเฉพาะการกำหนด ต้นไม้ และ ดอกไม้ ประจำชาติ เริ่มต้นที่กรมป่าไม้ได้ชักชวนให้ประชาชนสนใจต้นราชพฤกษ์หรือคูณมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2494 โดยรัฐบาลมีมติให้ถือวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ (arbour day) มีการชักชวนให้ปลูกต้นไม้ที่มีประโยชน์ชนิดต่าง ๆ มากมาย ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเสนอว่า ต้นราชพฤกษ์ น่าจะถือเป็นต้นไม้ประจำชาติ


กระทั่งในปี พ.ศ.2506 มีการประชุมเพื่อกำหนดสัญลักษณ์ต้นไม้และสัตว์ประจำชาติเป็นครั้งแรก โดยกรมป่าไม้ได้เสนอให้ ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ ไม้มงคลที่มีประโยชน์และรู้จักกันอย่างแพร่หลายเป็นต้นไม้ประจำชาติ สำหรับสัตว์ประจำชาติก็คือ ช้างเผือก สัตว์ที่มีคุณค่าเกี่ยวข้องกับประเพณีไทยและประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน การเสนอครั้งนั้นไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ดังนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมาสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยจึงมีหลากหลาย ตั้งแต่สถานที่สำคัญๆ  สัตว์ ดอกไม้ ที่คนไทยคุ้นเคยและพบเห็นบ่อย เช่น พระปรางค์วัดอรุณฯ เรือสุพรรณหงส์ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกพุทธรักษา แมวไทย เช่นเดียวกับ ต้นราชพฤกษ์ และ ช้างเผือก ยังคงถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติตลอดมา

ผู้นำประเทศของประเทศไทย

              กลายเป็นผู้หญิงที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในแวดวงการเมืองขณะนี้ สำหรับ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"น้องสาวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ ส.ส.บางส่วนในพรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ขึ้นมาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยสู้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ โดยชูจุดขายความเป็นสายเลือดแท้ ๆ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ พร้อมกับยกให้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เป็น "นารีขี่ม้าขาว"

          และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย ก่อนที่จะเธอจะนำลูกทีมเดินหน้าหาเสียงเลือกตั้ง กระทั่ง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พรรคเพื่อไทยสามารถเอาชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ไปได้ด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย ก่อนที่เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย และถือเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ธงชาติของประเทศไทย


ความหมายของสีธงไตรรงค์คือ
สีแดง หมายถึงชาติ และ ความสามัคคี ของคนในชาติ
สีขาว หมายถึงศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์
สีน้ำเงิน หมายถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขขอในพ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่๑ ทรงพระราชดำริว่า การประกาศสงครามนับเป็นความเจริญก้าวหน้าขั้นหนึ่งของประเทศ สมควรจะมีสิ่งเตือนใจ สำหรับวาระนี้ไว้ภายหน้า สิ่งนั้นควรได้แก่ "ธงชาติ" ทรงเห็นว่าลักษณะที่แก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๕๙ นั้น ยังไม่สง่างาม ๗งโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มแถบน้ำเงินแก่ขึ้นอีกสีหนึ่งเป็นสามสี ตามลักษณะของธงนานาชาติที่ใช้กันอยู่ เพื่อให้เป็นเครื่องหมายว่าไทยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และอีกประการหนึ่งสีน้ำเงินเป็นสีประจำพระชนมวารเฉพาะพระองค์ จึงเป็นสีที่ควรประดับไว้ในธงชาติไทย ดังนั้นในปี๒๔๖๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ ธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ออกประกาศเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ มีผลบังคับภายหลังวันออกประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ๓๐ วัน ลักษณะธงชาติมีดังนี้ คือ
เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมรี ขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน มีแถบสีนำเงินแก่กว้าง ๑ ใน ๓ ของความกว้างของธงอยู่กลาง มีแถบสีขาวกว้าง ๑ ใน ๖ ของความกว้างของธงข้างละแถบ แล้วมีแถบแดงกว้างเท่ากับแถบขาวประกอบข้างนอกอีกข้างละแถบ และ พระราชทานนามว่า "ธงไตรรงค์" ส่วนธงรูปช้างกลางธงพื้นแดงของเดิมนั้นให้ยกเลิก ความหมายของสีธงไตรรงค์คือ สีแดงหมายถึงชาติ และ ความสามัคคี ของคนในชาติ สีขาวหมายถึงศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์ สีนำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศ

ประวัติและขอมูลทั่วไปของประเทศไทย




ประวัติและความเป็นมาของประเทศไทย


ดินแดนที่เป็นประเทศไทยส่วนใหญ่นับแต่บริเวณภาคใต้ไปจนภาคเหนือ อันเป็นเขต ป่าเขานั้น อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า กึ่งชุ่มชื้น และกึ่งแห้งแล้ง จึงเป็นบริเวณที่เหมาะสมแก่การตั้งหลักแหล่งของชุมชนมนุษย์ให้เป็นบ้านเมืองได้เกือบทั้งสิ้น
รัฐหรือแคว้นในดินแดนประเทศไทยในระยะแรกเริ่มส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 7-8 เรื่อยมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 15การย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานจึงเลือกเฟ้นและจำกัดอยู่ในบริเวณภูมิภาคดังกล่าว ที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านเกษตรกรรมและการเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้ากว่าบริเวณอื่น ๆ ภาคอื่นซึ่งได้แก่ภาคเหนือและบริเวณอื่นที่ใกล้เคียงก็มีผู้คนอยู่เพียงแต่มีแต่เป็นชุมชนเล็ก ๆ กระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ เท่านั้น
กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถลงมา นับได้ว่ามีฐานะเป็นราชอาณาจักรสยามอย่างแท้จริงสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นอาณาจักรสยามอย่างแท้จริง คือมีหลักฐานทั้งด้านพระราชพงศาวดารและกฎหมายเก่าตลอดจนจารึกและลายลักษณ์อื่น ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่ามีการปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินที่รวมศูนย์แห่งอำนาจมาอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ ณ ราชธานีเพียงแห่งเดียว
นั่นก็คือ การยกเลิกการแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์ เช่น พระราชโอรส พระราชนัดดา ไปปกครองเมืองสำคัญที่เรียกว่า เมืองลูกหลวง หรือหลานหลวง ตั้งแต่ก่อนออกกฎข้อบังคับให้บรรดาเจ้านายอยู่ภายในนครโดยมีการแต่งตั้งให้มีตำแหน่ง ชั้นยศ ศักดิ์ และสิทธิพิเศษของแต่ละบุคคล ส่วนในเรื่องการปกครองหัวเมืองนั้น โปรดให้มีการแต่งตั้งขุนนางจากส่วนกลางไปปกครองเจ้าเมือง ขุนนาง และคณะกรรมการเมืองแต่ละเมืองมีตำแหน่ง ยศ ชั้น ราชทินนาม และศักดินา ลำดับในลักษณะที่สอดคล้องกับขนาดและฐานความสำคัญของแต่ละเมือง ส่วนเมืองรองลงมาได้แก่ เมืองชั้นโท และชั้นตรี ที่มีเจ้าเมืองมียศเป็นพระยาหรือออกญาลงมา บรรดาเจ้าเมืองเหล่านี้ไม่มีอำนาจและสิทธิในการปกครองและการบริหารเต็มที่อย่างแต่ก่อน จะต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมของเจ้าสังกัดใหญ่ในพระนครหลวง ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือน
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา ผู้ที่เรียกว่าชาวสยามหรือเมืองที่เรียกว่าสยามนั้น หมายถึงชาวกรุงศรีอยุธยาและราชอาณาจักรอยุธยาในลักษณะที่ให้เห็นว่าแตกต่างไปจากชาวเชียงใหม่ ชาวล้านนา ชาวรามัญ ชาวกัมพูชา ของบ้านเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน




วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

เเนะนำตัวเอง

ชื่อ : วทัญญู จงมีสัตย์
ชื่อเล่น: บาส
เกิดวันที่ : 4 ธันวาคม
อายุ : 11
เพื่อนสนิท : แกรม ซิม
สีที่ชอบ : ดำ น้ำเงิน