วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556



วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอกไม้ประจำชาติประเทศไทย

จากอดีตที่ผ่านมากว่า 50 ปี ทางราชการมีความพยายามหลายครั้งในการกำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยเฉพาะการกำหนด ต้นไม้ และ ดอกไม้ ประจำชาติ เริ่มต้นที่กรมป่าไม้ได้ชักชวนให้ประชาชนสนใจต้นราชพฤกษ์หรือคูณมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2494 โดยรัฐบาลมีมติให้ถือวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ (arbour day) มีการชักชวนให้ปลูกต้นไม้ที่มีประโยชน์ชนิดต่าง ๆ มากมาย ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเสนอว่า ต้นราชพฤกษ์ น่าจะถือเป็นต้นไม้ประจำชาติ


กระทั่งในปี พ.ศ.2506 มีการประชุมเพื่อกำหนดสัญลักษณ์ต้นไม้และสัตว์ประจำชาติเป็นครั้งแรก โดยกรมป่าไม้ได้เสนอให้ ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ ไม้มงคลที่มีประโยชน์และรู้จักกันอย่างแพร่หลายเป็นต้นไม้ประจำชาติ สำหรับสัตว์ประจำชาติก็คือ ช้างเผือก สัตว์ที่มีคุณค่าเกี่ยวข้องกับประเพณีไทยและประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน การเสนอครั้งนั้นไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ดังนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมาสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยจึงมีหลากหลาย ตั้งแต่สถานที่สำคัญๆ  สัตว์ ดอกไม้ ที่คนไทยคุ้นเคยและพบเห็นบ่อย เช่น พระปรางค์วัดอรุณฯ เรือสุพรรณหงส์ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกพุทธรักษา แมวไทย เช่นเดียวกับ ต้นราชพฤกษ์ และ ช้างเผือก ยังคงถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติตลอดมา

ผู้นำประเทศของประเทศไทย

              กลายเป็นผู้หญิงที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในแวดวงการเมืองขณะนี้ สำหรับ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"น้องสาวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ ส.ส.บางส่วนในพรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ขึ้นมาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยสู้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ โดยชูจุดขายความเป็นสายเลือดแท้ ๆ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ พร้อมกับยกให้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เป็น "นารีขี่ม้าขาว"

          และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย ก่อนที่จะเธอจะนำลูกทีมเดินหน้าหาเสียงเลือกตั้ง กระทั่ง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พรรคเพื่อไทยสามารถเอาชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ไปได้ด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย ก่อนที่เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย และถือเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย


ประวัติและขอมูลทั่วไปของประเทศไทย






วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

เเนะนำตัวเอง

ชื่อ : วทัญญู จงมีสัตย์
ชื่อเล่น: บาส
เกิดวันที่ : 4 ธันวาคม
อายุ : 11
เพื่อนสนิท : แกรม ซิม
สีที่ชอบ : ดำ น้ำเงิน


    ประวัติศาสตร์

    ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาก โดยมีความสืบเนื่องและคาบเกี่ยวระหว่างอาณาจักรโบราณหลายแห่ง เช่น อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ เขมร ฯลฯ โดยเริ่มมีความชัดเจนในอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 1981 อาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือ กระทั่งเสื่อมอำนาจลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 แล้วความรุ่งเรืองได้ปรากฏขึ้นในอาณาจักรทางใต้ ณ กรุงศรีอยุธยา โดยยังมีอาณาเขตที่ไม่แน่ชัด ครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินจึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
    ภายหลังสิ้นสุดอำนาจและมีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 อาณาจักรสยามเริ่มมีความเป็นปึกแผ่น มีการผนวกดินแดนบางส่วนของอาณาจักรล้านช้าง ครั้นในรัชกาลที่ 5 ได้ผนวกดินแดนของเมืองเชียงใหม่ หรืออาณาจักรล้านนาส่วนล่าง (ส่วนบนอยู่บริเวณเชียงตุง) เป็นการรวบรวมดินแดนครั้งใหญ่ครั้งสุดท้าย วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแต่ก็ต้องรออีกถึง 41 ปี กว่าจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยอีกสองครั้งคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ ล่าสุดได้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2549
กำเนิดธงชาติไทย

ประเทศไทยเริ่มมีธงชาติไทยตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฎแน่ชัด แต่สืบความได้ว่าไทยได้ใช้ธงชาติไทยครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตามจดหมายเหตุของฝรังเศลกล่าวไว้ว่า

เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2223 เรือรบของฝรั่งเศสชื่อ เลอรโวตูร์ มีมองซิเออร์ คอนูแอน เป็นนายเรือ ได้นำเรือเข้ามาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจริญพระราชไมตรีและการค้า นายเรือได้สอบถามทางกรุงศรีอยุธยา ถ้าจะยิงสลุตให้แก่ชาติไทย เมื่อเรือผ่านป้อมวิไชเยนทร์ (ปัจจุบันคือป้อมวิชัยสิทธิ์) ตามประเพณีของชาวยุโรป จะขัดข้องหรือไม่สมเด็จพระนารายณ์ทรงอนุญาต และรับสั่งให้เจ้าเมืองบางกอก คือ ออกพระศักดิ์สงคราม ให้ทางป้อมยิง สลุตตอบด้วย ในการที่เรือรบฝรั่งเศลจะยิงสลุตให้นั้น ทางป้อมจะชักธงชาติขึ้น แต่เวลานั้นธงชาติไทยยังไม่มี จึงชักธงชาติฮอลันดาขึ้นแทน แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมยิงสลุต เพราะเห็นว่าไม่ใช่ธงประจำชาติไทย และแจ้งให้ทราบว่า หากไทยประสงค์จะให้ฝรั่งเศสยิงสลุตให้เอาธงฮอลันดาลง แล้วชักธงอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นแทน เผอิญในสมัยนั้นผ้าแดงเป็นผ้าที่หาได้ง่ายกว่าผ้าอื่น ไทยจึงทำธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วชักขึ้น ฝรั่งเศสจึงยิงสลุตให้นับตั้งแต่นั้นมาไทยก็ถือเอาธงสีแดงเป็นธงชาติไทย

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จังหวัดกรุงเทพมหานคร หรือ บางกอก
เมืองหลวงของประเทศไทย เริ่มก่อตั้งภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงครองราชย์ปราบดา ภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราชจักรีวงศ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 6 เมษายน เดือนห้า แรม 9 ค่ำ ปีขาล พ.ศ. 2325 พระองค์ได้โปรด เกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังทางคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยา ฟากตะวันออก เนื่องจากเป็นชัยภูมิที่ดีกว่ากรุงธนบุรีเพราะมีแม่น้ำ เจ้าพระยาเป็นแนวคูเมืองทางด้านตะวันตก และด้านใต้
อาณาเขตของกรุงเทพฯ ในขั้นแรกถือเอาแนวคูเมืองเดิม ฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรี คือ แนวคลองหลอด ตั้งแต่ปากคลอง ตลาด จนออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปิ่นเกล้า เป็นบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ประมาณ 1.8 ตาราง กิโลเมตร
บริเวณที่สร้างพระราชวังนั้นเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของ พระยาราชเศรษฐีและชาวจีน ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็ง ในการก่อสร้างพระราชวังโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิบดี กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมการก่อสร้าง ได้ตั้งพิธียกเสา หลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที (21 เมษายน 2325) พระราชวังแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2328 จึงได้จัดให้มี พิธีบรมราชาภิเษกตามแบบแผน รวมทั้งงานฉลองพระนคร โดยพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า "กรุงเทพ มหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยน คำว่า "บวร รัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์" และในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีได้รวมจังหวัด ธนบุรีเข้าไว้ ด้วยกันกับกรุงเทพฯ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515
ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย
ชื่อภาษาและที่มา
คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัดซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว  เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

การแต่งกายของไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะไทย มารยาทไทย ภาษาไทย อาหารไทย และชุดประจำชาติไทย
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่า มีความงดงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็น "ไทย" ที่นำความภาคภูมิใจมาสู่คนในชาติ 
           การแต่งกายของไทยโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปีนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ

นับตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง ยุคเริ่มการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุค "มาลานำไทย" และ จนปัจจุบัน "ยุคแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร" 
           แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเองซึ่งไม่อาจสรุปได้ว่า แบบใดยุคใดจะดีกว่า หรือ ดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมแล้วแต่สมาชิกของสังคมจะคัดสรรสิ่งที่พอเหมาะพอควรสำหรับตน พอควรแก่โอกาส สถานที่และกาลเทศะ
และในที่สุด ก็มาถึงอันดับหนึ่งจนได้ครับ ... ตอนเห็นผลโพลนี้นี่ยิ้มแก้มจะแตก ดีใจสุดๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าของเค้าดีจริง อ่ะครับ 555555 ซึ่งเมนูของไทยที่ชาวต่างชาติเค้าเทใจให้ก็ไม่พ้นต้มยำ ส้มตำ ไก่ย่าง แกงเขียวหวาน ผัดไท หรือแม้แต่เมนูที่พวกเรามองว่าธรรมดาๆ อย่างข้าวผัดทั่วไป เค้าก็บอกว่าอร่อยมาก ๆ ครับ ผมหล่ะไม่อยากบอกเล้ยยย ว่าไม่ใช่อร่อยแค่อาหารเท่านั้น เพราะหนุ่มไทยทุกคน ก็หวานกรอบอร่อยร่อน รสเด็ดและแซ่บมาก ๆ ไม่แพ้อันดับในอาหารไทยที่ขึ้นชื่อเลยทีเดียว (ใช่ม๊ะครับ?) 
และเชื่อผมเถอะ ถึงคุณจะเบื่อเอียนอาหารไทยแค่ไหน แต่ถ้าเมื่อไหร่คุณต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนไปตกระกำลำบากอยู่ที่อื่น
อยู่ต่างประเทศ เอาแค่สักอาทิตย์เดียวก็พอ คุณจะรู้ซึ้งทันทีว่าไม่มีอาหารใดในโลกอร่อยกว่าอาหารที่บ้านเรา ไม่มีข้าวจานใด
ในโลกนี้ อิ่มอุ่นอร่อยกว่าข้าวที่แม่เราหุง และกับข้าวที่แม่เราทำให้กิน คนไทยบางคนที่จากบ้านเกิดไปนาน ๆ เค้าเล่าให้ผมฟังว่า
หลังจากทนทำงานและกินอาหารฝรั่งเป็นปี ๆ สิ่งแรกที่เค้าทำหลังจากได้กินแกงเผ็ดราดข้าวแบบไทย ๆ คือ น้ำตาเค้าแทบไหล
ออกมาตอนอาหารไทยเข้าปาก ด้วยความตื้นตันและคิดถึงบ้านเกิดแผ่นดินนอนซึ่งก็คือเมืองไทยของเรานั่นเอง ผมฟังเค้าเล่า
ผมก็แทบจะพลอยดราม่าน้ำตาไหล ไปกับเค้าด้วยครับ